
จดทะเบียนสมรสไทย-ญี่ปุ่น
Q : จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อนคนไทยต้องเดินทางไปญี่ปุ่นไหม?
A : คนไทยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปญี่ปุ่น สามารถทำเอกสารส่งไปดำเนินเรื่องการสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นได้
Q : แฟนคนญี่ปุ่นทำงานอยู่ที่ประเทศไทย จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อนได้ไหม?
A : สามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายญี่ปุ่นได้ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ต้องเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น
Q : จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น ใช้เอกสารอะไรบ้าง? (กรณีจดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน)
A : หนังสือรับรองโสด, ทะเบียนบ้าน, ใบเกิด, ใบหย่า(ถ้ามี), ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)
Q : ถ้าแฟนคนญี่ปุ่น ไม่เดินทางมาประเทศไทย สามารถจดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อนได้ไหม?
A : กรณีที่ต้องการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยก่อนทั้ง 2 ฝ่ายต้องเดินทางไปที่สำนักงานเขต/อำเภอไทยด้วยกันเท่านั้น จึงจะทำเรื่องจดทะเบียนสมรสที่ไทยได้ ดังนั้นคนญี่ปุ่นต้องเดินทางมาที่ประเทศไทย
Q : จดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อนกับญี่ปุ่นก่อนต่างกันอย่างไร?
A : การดำเนินเรื่องต่างกัน เอกสารที่ใช้ในการดำเนินเรื่องต่างกัน สามารถคุยรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของเราเพิ่มเติมได้
Q : จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่นแล้ว ไม่เปลี่ยนนามสกุลตามสามีเป็นอะไรไหม?
A : ไม่มีผลอะไรตามกฎหมายไทยและญี่ปุ่น จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้
ขอใบพำนัก และวีซ่าติดตามคู่สมรส
Q : ใบพำนักคืออะไร?
A : หนังสือรับรองสถานภาพพำนัก/Certificate of Eligibility/COE เป็นเอกสารที่ออกโดยกองตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรมของประเทศญี่ปุ่นเพื่อยื่นยันว่าบุคคลนี้มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากใบพำนักเป็นเหมือนใบเบิกทางในการยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่น
Q : พอได้รับใบพำนักแล้ว สามารถบินไปอยู่ที่ญี่ปุ่นได้เลยไหม?
A : ยังไม่สามารถเดินทางไปได้ เมื่อได้ใบพำนักมาแล้วจะต้องดำเนินเรื่องยื่นขอวีซ่า พอได้วีซ่าแล้วสามารถเดินทางไปอยู่กับสามีที่ประเทศญี่ปุ่นได้เลย
Q : ระยะเวลาในการรอใบพำนักนานไหม?
A : แล้วแต่เขตที่สามีคนญี่ปุ่นไปยื่น เช่น โตเกียวจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 3-4 เดือน
บำเหน็จ/บำนาญของสามีคนที่ปุ่นที่เสียชีวิต
Q : ถ้าสามีญี่ปุ่นเสียชีวิตไปนานแล้ว สามารถรับบำเหน็จ/บำนาญได้ไหม?
A : ภรรยามีสิทธิ์รับได้ แต่ต้องดูเอกสารของสามี
Q : ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถรับบำเหน็จ/บำนาญของฝ่ายชายญี่ปุ่นที่เสียชีวิตแล้วได้ไหม?
A : ฝ่ายหญิงมีสิทธิ์รับได้ แล้วแต่กรณี
Q : ภรรยาที่อยู่ประเทศไทย หรือไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลตามสามีสามารถรับบำเหน็จ/บำนาญของฝ่ายชายญี่ปุ่นที่เสียชีวิตแล้วได้ไหม?
A : ภรรยามีสิทธิ์รับได้ แล้วแต่กรณี
รับรองบุตร และขอสัญชาติญี่ปุ่น
Q : อยากให้ลูกมีสัญชาติญี่ปุ่นตามพ่อคนญี่ปุ่น แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น สามารถทำได้ไหม?
A : สามารถทำได้ ต้องดำเนินเรื่องรับรองบุตรถึงจะได้สัญชาติตามพ่อคนญี่ปุ่น
Q : เมื่อจดทะเบียนสมรสกันแล้ว มีบุตรด้วยกัน และอยากให้ลูกมีสัญชาติญี่ปุ่นตามพ่อคนญี่ปุ่น ต้องทำอย่างไรบ้าง?
A : เมื่อคลอดลูกแล้ว จะต้องแจ้งเกิดลูก ลูกก็จะได้รับสัญชาติไทย-ญี่ปุ่น
ขอใบพำนัก และวีซ่าติดตามแม่คนไทย
Q : ฝ่ายหญิงมีลูกติดกับคนไทย อยากจะพาลูกไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ไหม?
A : สามารถทำได้ ลูกที่จะทำวีซ่าติดตามแม่ จะต้องมีอายุต่ำกว่า 20 ปี
ขอใบพำนัก และวีซ่าติดตามคู่สมรสคนไทยที่มีวีซ่า
Q : สามีคนไทยทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สามารถขอวีซ่าติดตามสามีได้หรือไม่?
A : สามารถทำได้ แต่ต้องพิจารณาคุณสมบัติของสามีด้วย เช่น อาชีพ รายได้
การแปลเอกสารไทย-อังกฤษ-ญี่ปุ่น
Q : ทำไมถึงต้องรับรองนิติกรณ์?
A : เอกสารที่จะนำไปใช้อ้างอิงในต่างประเทศ จะต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศจึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมาย
Q : แปลเอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่น สามารถรับรองนิติกรณ์ได้ไหม?
A : ไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจะรับรองเอกสารที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษเท่านั้น
Q : บริงลัคมีรับรองคำแปลให้ไหม?
A : มีค่ะ
ล่ามไทย-ญี่ปุ่น
Q : ต้องแม่นภาษาขนาดไหน ถึงจะเป็นล่ามได้?
A : การเป็นล่ามต้องมีความสามารถในการใช้ภาษานั้นจริงๆ มีประสบการณ์ในการอาศัยอยู่ที่ประเทศนั้นๆ ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีความรู้เรื่องงานที่จะต้องแปลภาษาให้อีกฝ่ายเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมีความสามารถในการใช้ภาษานั้นเหมือนภาษาแม่ของตัวเอง เพราะการแปลที่ดีก็คือ ทำให้คนเข้าใจและใช้ภาษาปลายทางได้ถูกต้อง